โรคผื่นกุหลาบ โรคที่พบบ่อยในหน้าฝน
ผื่นกุหลาบ หรือ โรคขุยดอกกุหลาบ เป็นโรคผิวหนังที่พบบ่อยในวัย 10-35 ปี พบได้ในช่วงฤดูฝน เป็นโรคที่สร้างความรำคาญให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้พอสมควร เพราะจะเกิดผื่นขึ้นทั่วร่างกาย
โรคนี้ยังไม่พบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส และผื่นกุหลาบไม่สามารถติดต่อจากคนสู่คนผ่านการสัมผัสผิวหนังที่เป็นโรคได้
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า การใช้ยาบางประเภทอาจกระตุ้นให้เกิดผื่นกุหลาบได้ เช่น ยาบรรเทาอาการอักเสบ ยาแก้ท้องเสีย หรือแม้แต่วัคซีนป้องกันวัณโรค เป็นต้น
อาการ
มักเกิดขึ้นบริเวณลำตัวและมีขนาดเล็ก ๆ มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะมีผื่นรูปวงรี รูปไข่ หรือวงกลม สีชมพูหรือแดงขนาดใหญ่ มีขุยละเอียดสีขาวรอบๆผื่น คล้ายปกเสื้อส่วนใหญ่จะเกิดที่บริเวณลำตัวที่อยู่ในร่มผ้า เช่น ท้อง หน้าอก คอ หลัง ไม่ค่อยพบผื่นที่หน้า หรือบริเวณอวัยวะเพศ ในบางรายมีอาการนำมาก่อน เช่น ปวดศีรษะ มีไข้ ปวดข้อ ปวดเมื่อย
การวินิจฉัยผื่นกุหลาบ เบื้องต้น แพทย์มักวินิจฉัยผื่นกุหลาบด้วยการตรวจดูผิวหนังบริเวณที่เกิดความผิดปกติ หากยังไม่สามารถวินิจฉัยได้อย่างชัดเจน อาจสั่งตรวจด้านอื่นเพิ่ม
1.เก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นผื่นแล้วนำไปส่องกล้องจุลทรรศน์เพื่อหาเชื้อรา เพราะผู้ป่วยบางรายอาจเป็นโรคผิวหนังชนิดอื่นที่มีอาการคล้ายผื่นกุหลาบ
2.ตรวจเลือด เพื่อตรวจหาเชื้อ ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดแผลหรือผื่นตามร่างกายคล้ายผื่นกุหลาบ
3.กรณีที่แพทย์สงสัยว่าผื่นกุหลาบอาจเกิดจากสาเหตุอื่น แพทย์อาจตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อไปส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อดูการติดเชื้อเพิ่มเติม
การรักษาผื่นกุหลาบ
โดยปกติแล้วอาการผื่นกุหลาบมักจะหายไปได้เองภายใน 6-8 สัปดาห์ การรักษาจึงเป็นแบบการประคับประคองตามอาการเป็นหลัก แต่หากอาการคงอยู่เป็นเวลานานกว่า 2-3 เดือน ผู้ป่วยก็ควรไปพบแพทย์
การใช้ยารักษา
• รับประทานแก้แพ้ ใช้เพื่อลดอาการคันที่ผิวหนัง
• ยาปฏิชีวนะและยาต้านไวรัส ซึ่งพบว่าสามารถลดระยะเวลาการเกิดผื่นได้ในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น จึงแนะนำให้ใช้เฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการผื่นมากจนรบกวนชีวิตประจำวัน เช่น ไข้ ผื่นขึ้นเยอะมากทั่วตัว
• ครีมบำรุงผิวใช้เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวบริเวณที่เกิดผื่น
• ยาทาในกลุ่ม Steroidใช้เพื่อลดการอักเสบของผิวหนัง
• บางรายที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง อาจต้องรับการรักษาด้วยการฉายแสง เพื่อช่วยให้อาการของโรคทุเลาลง
ผลข้างเคียงของโรคผื่นกุหลาบ
-เกิดความกังวลในภาพลักษณ์จากการมีผื่นที่ผิวหนัง
-ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคัน
-ในบางรายเมื่อผื่นค่อย ๆ หายไป ผิวหนังตรงรอยผื่นอาจมีสีดำคล้ำเช่นเดียวกับกรณีที่เป็นสิวได้ แต่รอยดำคล้ำจะค่อย ๆ จางลงและหายไปได้เองในที่สุด
-เมื่อผื่นหายอาจพบการเปลี่ยนแปลงของสีผิวหนังเป็นรอยขาว หรือรอยคล้ำดำ
-ผู้ป่วยโรคผื่นกุหลาบจะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ โรคเซ็บเดิร์ม โรคสิว รังแค สูงกว่าคนทั่วไป และยังพบว่ามักมีการกำเริบของผื่นมากขึ้นในผู้ที่มีความเครียดสูง
การป้องกันโรคผื่นขุยกุหลาบ ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคผื่นกุหลาบได้ แต่ผู้ป่วยสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการดูแลตนเองขณะเป็นผื่น ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
• สวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้ายหรือผ้าไหม เพื่อช่วยระบายความร้อน
• อาบน้ำด้วยน้ำเย็น และหลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
• หมั่นทาโลชั่นให้ผิวชุ่มชื้นอยู่เสมอ เพื่อช่วยบรรเทาอาการคัน
-ผู้ที่เป็นโรคผื่นกุหลาบแล้วมักจะไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก เนื่องจากโรคนี้เป็นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย ผู้ที่เคยเป็นมาแล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่เป็นโรคนี้ซ้ำได้อีก
สอบถามและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านผิวหนัง ได้ทุกวันตั้งแต่เวลา
จันทร์ ถึง ศุกร์ 12.00 น. - 20.00 น.
เสาร์ ถึง อาทิตย์ 12.00 น. - 17.00 น.
#โทร : 088-521-8585
#Line : @1999MSC
#คลินิกผิวหนังมหานคร
#ตรวจรักษาโรคผิวหนังทุกชนิด ผมร่วง สิว ฝ้า ภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก เล็บผิดปกติ ผิวหนังอักเสบ รอยแผลเป็น รังแค สะเก็ดเงิน ลมพิษเรื้อรัง
ขอบคุณภาพ Amarin Baby&Kids , LC Clinic , Medthai