ช่วงหน้าร้อน ปัญหาที่พบของคนส่วนใหญ่ในหน้าร้อนนี้คงหนีไม่พ้น “ผดผื่นคัน” เกิดขึ้นเมื่อใดก็สร้างความรำคาญ ทำให้เราต้องแกะ ต้องเกา จนลุกลามกันไปใหญ่
พบบ่อยในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ บุคคลที่มีรูปร่างเจ้าเนื้อ หรือบุคคลที่ใส่เสื้อผ้ารัดรูป ค่อนข้างคับแน่น หรือผ้าเนื้อหนา
สาเหตุการเกิด
ผด ผื่น ร้อนเกิดจากการอุดตันของรูขุมขน และไม่สามารถขับเหงื่อได้ มักเกิดในฤดูร้อนในพื้นที่ภูมิอากาศแบบเขตร้อน และหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก การใส่เสื้อผ้าที่กักเก็บเหงื่อ รวมถึงการใช้โลชั่นและครีมที่หนา และหนักก็ทำให้เกิดผดร้อนได้เช่นกัน
-มิเลียเรีย คริสตัลลินา (Miliaria Crystallina)
ผดร้อนชนิดนี้เป็นผดร้อนที่มีอาการรุนแรงน้อยที่สุดและมักพบได้บ่อยที่สุด เมื่อเทียบกับผดร้อนชนิดอื่น ๆ โดยสาเหตุเกิดจากการรั่วของท่อเหงื่อและสะสมอยู่บริเวณผิวหนังชั้นนอกสุดที่ปกคลุมด้วยผิวหนังบาง ๆ ทำให้เกิดเป็นตุ่มใส ๆ ไม่มีอาการคันและแตกเป็นสะเก็ดได้ง่าย สามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย แต่ในผู้ใหญ่มักจะพบบริเวณลำตัวมากที่สุด ผดร้อนชนิดนี้จะเกิดขึ้นหลังจากสัมผัสอากาศร้อนมากกว่า 1-2 วันขึ้นไป เป็นผดร้อนที่พบได้บ่อยในเด็กทารก
-มิเลียเรีย โพรฟันดา (Miliaria Profunda)
อาการของผดร้อนชนิดนี้จะแตกต่างจากผดร้อนชนิดอื่นโดยสิ้นเชิง เพราะลักษณะของผดจะมีขนาดใหญ่ เป็นปื้นหนาสีเนื้อ มีสาเหตุมาจากการรั่วไหลของต่อมเหงื่อในชั้นหนังแท้ ส่งผลให้เหงื่อไม่สามารถไหลออกมาได้ โดยจะเกิดขึ้นหลังจากผิวหนังสัมผัสความร้อนไม่กี่ชั่วโมง ผดที่เกิดขึ้นจะไม่มีอาการคัน แต่จะทำให้ร่างกายไม่สามารถหลั่งเหงื่อออกมาเพื่อระบายความร้อน ซึ่งอาจส่งผลให้หน้ามืดและวิงเวียนได้
อาการของผดผื่น
อาการคันและมีตุ่มเล็ก ๆ ขึ้นตามร่างกาย เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปของผดร้อน โดยมักปรากฏขึ้นบริเวณใต้ร่มผ้า หรือบริเวณใบหน้า คอ หลัง อก และต้นขา ส่วนเด็กเล็กมักเกิดผดร้อนบริเวณคอ หัวไหล่ และหน้าอก และบางครั้งอาจปรากฏอาการบริเวณรักแร้ ข้อพับแขน และขาหนีบได้
-ตุ่มน้ำใสขนาด 1-2 มิลลิเมตร ไม่แสดงอาการเจ็บหรือคัน แต่อาจแตกเป็นสะเก็ดได้ง่าย มักเกิดจากการอุดตันในผิวหนังชั้นที่ตื้นที่สุด
-ผดแดง ซึ่งทำให้รู้สึกคัน เจ็บแสบ หรือระคายเคือง และมักเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังที่มีการเสียดสี เช่น อก คอ หลัง และข้อพับ
วิธีป้องกัน
ผื่นผิวหนังในช่วงฤดูร้อนส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตรายและจะหายไปเองหลังจากผ่านไป 2-3 วัน ผื่นส่วนใหญ่สามารถรักษาได้อย่างปลอดภัยและสามารถทำได้ที่บ้าน โดยลองทำตามขั้นตอนเหล่านี้
1.สวมเสื้อผ้านุ่มๆ หลวมๆ ที่ไม่กักความร้อนและความชื้น เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย เป็นสิ่งที่ดีที่สุด
2.ใช้เวลาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เย็น มีเครื่องปรับอากาศ หรือมีอากาศถ่ายเทสะดวก
3.อาบน้ำเย็น หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อนจัด
4.ถามแพทย์หรือเภสัชกรว่ามีครีมหรือยาเม็ดที่จะช่วยบรรเทาอาการผื่นได้หรือไม่
5.อย่าเกาบริเวณที่ได้รับผลกระทบ เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงและติดเชื้อได้
6.ดื่มน้ำในปริมาณที่มากๆ ในสภาพอากาศที่ร้อน
7.พยายามตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้พยายามป้องกันไม่ให้ผิวหนังโดนแสงแดดให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้
วิธีรักษา
-ป้องกันการอุดตันของต่อมเหงื่อ โดยกำจัดปัจจัยที่เป็นสาเหตุอุดตัน เช่น พลาสเตอร์ที่ปิดทับผิวหนัง เสื้อผ้าที่เสียดสีรัดรูป หลีกเลี่ยงสถานที่อากาศร้อนชื้น การออกกำลังกลางแจ้งที่ทำให้เกิดเหงื่อออกเยอะ พยายามอยู่ในที่อากาศเย็นไม่ร้อนอบอ้าว
-ถ้ามีอาการคัน ให้รับประทานยาแก้แพ้ เพื่อช่วยลดอาการคัน
-ถ้ามีการอักเสบของผื่นมาก อาจใช้เป็นสเตียรอยด์อ่อนๆทาบางๆ เพื่อช่วยลดการอักเสบได้ แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานๆ
-ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราแทรกซ้อน ให้ใช้ยาทาหรือยากินสำหรับฆ่าเชื้อร่วมด้วยได้
สอบถามและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านผิวหนัง ได้ทุกวันตั้งแต่เวลา
จันทร์ ถึง ศุกร์ 12.00 น. - 20.00 น.
เสาร์ ถึง อาทิตย์ 12.00 น. - 17.00 น.
#โทร : 088-521-8585
#Line : @1999MSC
#คลินิกผิวหนังมหานคร
#ตรวจรักษาโรคผิวหนังทุกชนิด ผมร่วง สิว ฝ้า ภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก เล็บผิดปกติ ผิวหนังอักเสบ รอยแผลเป็น รังแค สะเก็ดเงิน ลมพิษเรื้อรัง