◉ โรคผมร่วงเป็นหย่อม ๆ ผมร่วงเป็นวงๆ หรือผมร่วงเป็นกระจุก (Alopecia Areata) สำหรับปัญหาผมร่วงเป็นหย่อม จะมีลักษณะเป็นวงคล้ายเหรียญ มีขอบเขตชัดเจน ซึ่งเป็นโรคที่พบได้ประมาณ 1.7% ของประชากร โดยพบมากในช่วงอายุประมาณ 15-30 ปี
*การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการแต่ละบุคคล
◉ สาเหตุของการเกิดโรคนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อกันว่าน่าจะเกิดจากความผิดปกติของระบบ Autoimmune หรือเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โดยความผิดปกตินี้อาจสร้างความเสียหายต่อรูขุมขน จนทำให้รูขุมขนมีขนาดเล็กลงและไม่สามารถผลิตเส้นผมขึ้นมาได้ จึงเกิดเป็นอาการผมร่วง
มีปัจจัยบางอย่างที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ได้ เช่นโรค หอบหืด ไทรอยด์ โรคด่างขาว โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นต้น
ผมร่วงที่มักจะพบได้มากที่สุด ได้แก่
- สระผมบ่อยเกินไป
สาวๆ หนุ่มๆ ที่หนังศีรษะมัน หรือแม้กระทั่งคนที่ออกกำลังกายทุกวัน ทำให้สระผมทุกวัน แล้วการสระผมบ่อยเกินไปอาจทำให้หนังศีรษะแห้ง จนเกิดอาการคันศีรษะ ระคายเคือง จนเป็นรังแค และทำให้ผมร่วงได้ในที่สุด
- การหวีผมผิดวิธี
เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เส้นผมหลุดร่วงได้ เพราะนั่นอาจเป็นการทำร้ายเส้นผมโดยไม่รู้ตัว จนทำให้ผมอ่อนแอและหลุดร่วงได้นั่นเอง โดยการหวีผมอย่างผิดวิธีในที่นี้ก็คือ การหวีด้วยความรุนแรงเกินไป การหวีผมบ่อยๆ และการหวีผมในขณะที่ผมกำลังเปียก
- การดัด ย้อม ทำสีผม
สาวๆ หนุ่มๆ ที่ชอบเปลี่ยนสีผมบ่อยๆ อาจประสบปัญหาเส้นผมหยาบกระด้าง เส้นผมแตกปลาย ชี้ฟู แห้งเสีย ปลายผมช็อตเป็นหยักๆ บำรุงเท่าไรก็ยากที่จะกู้ชีวิตขึ้นมาได้ ต้องรอยาวแล้วตัดออกอย่างเดียว คงเข้าใจดีว่าน้ำยาทำสีผมทำร้ายสุขภาพผมมากเท่าไร แต่นอกจากจะทำร้ายเส้นผมแล้ว ยังทำร้ายหนังศีรษะ จนอาจเป็นเหตุให้ผมร่วงได้อีกด้วย
*การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการแต่ละบุคคล
ทานอาหารรสจัด
หลายคนอาจคาดไม่ถึงว่าอาหารการกินจะส่งผลกับการหลุดร่วงของเส้นผมเราได้ อาหารรสจัดจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เส้นเลือดหดตัวลง เป็นผลทำให้เลือดไปเลี้ยงรากผมได้น้อยลง และทำให้รากผมไม่แข็งแรงเท่าที่ควรจะเป็น
- ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
การดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ ไม่ได้ทำลายเพียงแต่อวัยวะสำคัญๆ อย่างตับ ไต เท่านั้น ยังส่งผลไปถึงระบบไหลเวียนโลหิต เส้นเลือดที่จะอยู่ในภาวะหดตัว และแข็งตัว ขาดความยืดหยุ่น ทำให้เลือดไหลเวียนแย่ลง เมื่ออวัยวะต่างๆ ไม่ได้รับเลือดเข้ามาไหลเวียนอย่างที่ควรจะเป็น ก็จะส่งผลให้เซลล์ต่างๆ ตามร่างกายทำงานแย่ลง เช่นเดียวกับเซลล์ผิวหนัง รูขุมขน ที่ไม่แข็งแรง ทำให้ผมขาดหลุดร่วงได้เหมือนกัน
- พันธุกรรม
เป็นสาเหตุของผมร่วงที่พบได้บ่อยมาก แต่ส่วนใหญ่จะเป็นอาการผมร่วงที่ตามมาด้วยหัวล้านเสมอ ทั้งยังรักษาให้หายได้ยากมากที่สุด ซึ่งจะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองมีความเสี่ยงผมหลุดร่วงง่ายหรือไม่ ก็ให้ดูจากพ่อแม่พี่น้อง ปู่ย่า ตายาย ว่ามีใครผมร่วงหรือหัวล้านบ้างเปล่านั่นเอง
- สำหรับใครที่เป็นโรคนี้ก็อย่าเพิ่งตกใจไป ถ้าเป็นน้อยๆ มันก็มักจะหายเองได้ แต่การรักษาจะช่วยกระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผม จะรักษาด้วยการทายา และฉีดยาเข้าบริเวณหย่อมผมร่วง จากนั้น ผมจะเริ่มขึ้นใหม่ประมาณ 1เดือนหลังการรักษา
*ลักษณะอาการแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ บางคนเป็นไม่เยอะก็รักษาหายใช้เวลาไม่นาน บางคนอาการรุนแรงอาจจะใช้เวลานานในการรักษา
สอบถามและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านผิวหนัง ประสบการณ์กว่า 22 ปี
ได้ทุกวันตั้งแต่เวลา
จันทร์ ถึง ศุกร์ 12.00 น. - 20.00 น.
เสาร์ ถึง อาทิตย์ 12.00 น. - 17.00 น.
#โทร : 088-521-8585
#Line : 1999MSC
#คลินิกผิวหนังมหานคร