โรคผิวหนังที่มากับหน้าฝน

ฝนตกบ่อย ๆ ทำให้เกิดความอับชื้น ซึ่งกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อรา และแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดโรคผิวหนังได้ ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝนแล้ว มีโรคผิวหนังอะไรบ้างที่ต้องระวัง


1. ผื่นผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา

โรคเกลื้อน มีลักษณะเป็นผื่นวงกลมหลายวง มีขุยละเอียด สีแตกต่างกัน มักเกิดบริเวณลำตัว เช่น หลัง หน้าอก ท้อง ไหล่ คอ พบมากในผู้ที่มีเหงื่อออกมาก และใส่เสื้อผ้าที่อับชื้น
โรคกลาก มีลักษณะเป็นผื่นวงมีขอบเขตชัดเจน มีขุย เริ่มต้นด้วยอาการคัน ตามด้วยผื่นแดงต่อมาจะลามเป็นวงออกไปเรื่อย ๆ และมักจะคันมากขึ้น ส่วนใหญ่พบในบริเวณที่มีความอับชื้น เช่น หนังศีรษะ รักแร้ ใต้ราวนม ขาหนีบ ฝ่าเท้า และซอกนิ้วเท้า
วิธีรักษา

1.แนะนำให้ใช้ยาทาและยาฆ่าเชื้อราชนิดรับประทานภายใต้คำแนะนำของแพทย์

2.เลือกสบู่ หรือแชมพูที่อ่อนโยน ไม่มีอาการระคายเคือง

3.รักษาสุขอนามัย เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัวควรจะซักและนำออกผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำมาใช้เสมอ

4.ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น เสื้อผ้า หรือ ผ้าเช็ดตัว



2. ผิวหนังอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย 

ในฤดูฝนอาจมีแมลงต่างๆในแต่ละท้องที่ แมลงดูดเลือด อย่างเช่นยุง ริ้นดำ ริ้นทะเล ด้วงก้นกระดก แมลงเหล่านี้เมื่อสัมผัสกับผิวหนังแล้วก็อาจจะมีอาการแสบ คัน อักเสบ และบางชนิดก็อาจเป็นพาหะนำโรคอื่น ๆมาด้วย

1.การดูแลรักษา เมื่อถูกกัดหรือถูกสัมผัสโดน ให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาด ถ้าผิวหนังมีผื่นหรือมีอาการคัน ใช้ยาทาบริเวณที่โดนกัดหรือแสบแต่หากมีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือบวมเจ็บผิดสังเกตให้รีบไปพบแพทย์

2.รักษาความสะอาดสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน เช่น หมั่นทำความสะอาดเครื่องเรือน หมอนหรือเสื้อผ้าต้องตากในที่มีอากาศถ่ายเท และสะบัดก่อนเก็บเข้าบ้าน หากมีรังของแมลงให้รีบกำจัด
3.แนะนำให้ติดมุ้งลวดที่หน้าต่างและประตู หากมีร่องหรือช่องตามมุมของบ้านควรปิดรูให้สนิทกันแมลงเข้าบ้าน



 
3. ผื่นผิวหนังอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

มีลักษณะเป็นผื่นแดงแห้งๆ ออกน้ำตาล มักเกิดในบริเวณที่อับชื้นซึ่งเป็นบริเวณที่เหมาะสมของการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เช่น รักแร้ ขาหนีบ ฝ่าเท้า และซอกนิ้วเท้า โรคที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรคเท้าเหม็นเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนังชั้นนอก มีอาการเท้าแห้งลอก เท้าจะเหม็นมากกว่าคนทั่วไป มีหลุม รูพรุนเล็กๆบริเวณฝ่าเท้าและง่ามเท้า

1.ทำความสะอาดร่างกายและล้างมืออยู่เสมอ
2.ใช้สบู่อ่อน ๆ ไม่มีน้ำหอม ไม่มีสารกันเสีย และอ่อนโยนต่อผิว
3.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย



 4.โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

จะมีผื่นแดง แห้งลอก คัน โดยมีอาการคันมากที่บริเวณตามข้อพับแขน ข้อพับขา ใบหน้า แขน ขา ซอกคอ เนื่องมาจากอุณหภูมิและความชื้นของอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป

วิธีป้องกัน 
    1.ทำความสะอาดร่างกายและล้างมืออยู่เสมอ
    2.ใช้สบู่อ่อน ๆ ไม่มีน้ำหอม ไม่มีสารกันเสีย และอ่อนโยนต่อผิว
    3.ทาโลชั่นทุกครั้งหลังอาบน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว
    4.หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่รัดมาก เนื้อหยาบหนา หรือผ้าขนสัตว์ ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว
    5.หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีฝุ่นละออง แมลง และยุงชุกชุม



5.โรคน้ำกัดเท้า

จะเกิดอาการที่พบได้บ่อยในง่ามนิ้วเท้า โดยอาการในระยะแรกที่ยังไม่มีการติดเชื้อนั้นเท้าจะมีลักษณะเปื่อย แดง และลอกเพราะเกิดการระคายเคือง แต่ถ้าหากมีอาการคันและเกาจนเกิดเป็นแผลจะมีการอักเสบ และติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งการติดเชื้อจะทำให้เกิดอาการแสบร้อน ปวด แผลเป็นหนอง ผิวเป็นขุย และลอกออกเป็นแผ่นสีขาว อาจมีกลิ่นเหม็นตามซอกเท้า

วิธีป้องกัน
     1.หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำสกปรกโดยตรง หรือการแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ
     2.หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำท่วมขัง ให้ใส่รองเท้าบู๊ทยาง
     3.หลังจากสัมผัสน้ำท่วมขัง ให้ล้างเท้าด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทันที และเช็ดเท้าให้แห้ง โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้ว
     4.ใส่ถุงเท้าที่สะอาดและไม่เปียกชื้นอยู่เสมอ
     5.หากมีบาดแผลถลอกในบริเวณที่สัมผัสน้ำสกปรกควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อชะล้างหลังการสัมผัสทันที



 
สอบถามและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านผิวหนัง ได้ทุกวันตั้งแต่เวลา

จันทร์ ถึง ศุกร์ 12.00 น. - 20.00 น.

เสาร์ ถึง อาทิตย์ 12.00 น. - 17.00 น.

#โทร : 088-521-8585

#Line : @1999MSC

#คลินิกผิวหนังมหานคร

#ตรวจรักษาโรคผิวหนังทุกชนิด ผมร่วง สิว ฝ้า ภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก เล็บผิดปกติ ผิวหนังอักเสบ รอยแผลเป็น รังแค สะเก็ดเงิน ลมพิษเรื้อรัง

ขอบคุณภาพ MedThai , MThai , Health Kapook , Lifestyle224 , อีจัน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้