งูสวัด

◉งูสวัด คือ โรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา (varicella virus) ชนิดเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดอีสุกอีใส พบมากในผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

หากเชื้อชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายผู้ที่ไม่เคยได้รับเชื้อก็จะทำให้เป็นโรคอีสุกอีใส และเมื่อหายเป็นปกติแล้ว เชื้อดังกล่าวจะหลบอยู่บริเวณปมประสาทของร่างกาย และจู่โจมร่างกายเมื่อร่างกายอ่อนแอจนเกิดเป็นงูสวัด

เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้หากได้รับการรักษาทันท่วงที ยิ่งพบแพทย์เร็ว ก็จะยิ่งลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน หากปล่อยทิ้งไว้นาน อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้

 

*การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการแต่ละบุคคล 
 

◉อาการของโรคงูสวัด

1.ตุ่มน้ำอาจเกิดขึ้นในลักษณะเป็นกลุ่ม มักจะเริ่มต้นขึ้นจากบริเวณเล็ก ๆ ของร่างกายฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ก่อนจะเริ่มลุกลามไปยังบริเวณอื่นในฝั่งร่างกายเดียวกัน

2.มีอาการปวดตามตัว ก่อนมีผื่น 2-3 วัน

3.มักจะไม่มีไข้ หรือมีไข้ ปวดศีรษะ

4.ผิวหนัง อาจจะคันผิวหนัง บางคนมีอาการปวดแสบปวดร้อน


บริเวณที่พบผื่นงูสวัดได้มากที่สุดคือบริเวณอกและเอวข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งมีโอกาสน้อยมากหรือแทบไม่มีโอกาสเลยที่จะเกิดงูสวัดขึ้นทั้ง 2 ข้างของร่างกายในคนปกติ บางครั้งอาจมีผื่นขึ้นที่บริเวณใบหน้า คอ หรือในดวงตาได้อีกด้วย

◉ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคงูสวัด
1.เป็นโรคไข้อีสุกอีใสมาก่อน
2.อายุมาก
3.เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
4.มีความเครียด


◉การรักษางูสวัด
1. ปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อวินิจฉัยให้ถูกต้อง และรักษาถูกวิธี อาการดูเหมือนใกล้เคียงกับแมลงก้นกระดกคือแสบและเป็นตุ่มหนอง ซึ่งการรักษาจะแตกต่างกันอย่างมาก หากรักษาผิดวิธีจะทำให้แผลรุกราม และการรักษาจะยากขึ้น
2.แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสทันทีภายใน 2-3 วัน หลังเกิดอาการ ร่วมกับยาแก้ปวด หรือยาทาปะคบ เพื่อลดความรุนแรง และช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น รวมทั้งช่วยลดอาการปวดแสบ และอาการแทรกซ้อนอื่นๆ


3.สำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ


4.สำหรับผู้ป่วยที่เป็นงูสวัดขึ้นที่ตา จะได้รับยาต้านไวรัสชนิดทาน และหยอดตาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางตาซึ่งอาจจะทำให้ตาบอดได้


ถ้ามีอาการปวดหลังการติดเชื้อ สามารถรับประทานยาพาราเซตตามอลแก้ปวดร่วมกับยาต้านไวรัส


6.ไม่พ่นหรือทายา เช่นยาพื้นบ้านหรือยาสมุนไพรลงไป บริเวณตุ่มน้ำ เพราะอาจติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้แผลหายช้า และกลายเป็นแผลเป็นได้

 

*ลักษณะอาการแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ บางคนเป็นไม่เยอะก็รักษาหายใช้เวลาไม่นาน บางคนอาการรุนแรงอาจจะใช้เวลานานในการรักษา

 

◉การป้องกันงูสวัด
เราสามารถป้องกันโรคงูสวัดได้โดยการป้องกันไม่ให้ร่างกายรับเชื้อไวรัส วิธีการป้องกันแบบง่าย ๆ คือ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอจนเปิดโอกาสให้เชื้อไวรัสดังกล่าวจู่โจมร่างกาย


การสัมผัสตุ่มน้ำหรือแผลของผู้ป่วยงูสวัดอาจทำให้ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเกิดเป็นโรคสุกใสได้ ดังนั้นควรแยกข้าวของเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดตัว ที่นอน ของผู้ป่วยโรคงูสวัดกับผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน


ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดแล้ว โดยสามารถลด โอกาสการเกิดโรคงูสวัด หรือหากว่าเกิดการติดเชื้อจะสามารถลดความรุนแรงของอาการงูสวัดและอาการปวดหลังการติดเชื้อ แนะนำให้ฉีดในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
 

◉คำถามที่พบบ่อยงูสวัด
1.อาการแทรกซ้อนของโรคงูสวัดมีอะไรบ้าง?
อาการแทรกซ้อนที่พบได้มากหลังเกิดโรคงูสวัด คือ อาการปวดปลายประสาทหลังเป็นโรคงูสวัด บริเวณที่เป็นผื่นจากโรคงูสวัด ถึงแม้ว่าผื่นนั้นจะหายไปแล้ว แต่อาการปวดจะยังคงอยู่และอาจมีอาการปวดมาก แต่ทั้งนี้อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นภายในระยะเวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน


2.สามารถติดโรคงูสวัดจากผู้อื่นได้หรือไม่?
โรคงูสวัด เป็นโรคติดต่อทางการสัมผัส เนื่องจากในแผลที่มีตุ่มน้ำใสนั้น ยังสามารถพบเชื้อไวรัสได้ จึงสามารถแพร่กระจายไปยังผู้อื่นได้ โรคนี้สามารถเกิดในทุกช่วงวัย แต่บางคนอาจมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้มากกว่าคนอื่น เช่น ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง


3.โรคงูสวัดสามารถป้องกันได้อย่างไรบ้าง?
โรคงูสวัด สามารถป้องกันได้ ด้วยการปฏิบัติตัวให้มีสุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ อีกทั้งในปัจจุบัน มีวัคซีนเพื่อป้องกันการเกิดโรคงูสวัด โดยท่านสามารถเข้ามารับคำปรึกษาและรับวัคซีนจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาล


4.ใครควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด?
ทุกคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปและโดยเฉพาะอย่างยิ่งทุกคนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สามารถรับวัคซีนนี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีประวัติการเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน เนื่องด้วยอายุที่มากขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคงูสวัดและอาการแทรกซ้อนจากโรคงูสวัด


5.อาการข้างเคียงที่อาจพบได้หลังฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดมีอะไรบ้าง?
โดยทั่วไปมักไม่ค่อยพบอาการข้างเคียงที่รุนแรง อาจมีอาการข้างเคียงเล็กน้อยเกิดขึ้นได้ เช่น ปวดศีรษะ ปวด บวม แดง บริเวณที่ได้รับการฉีดยา

 

สอบถามและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านผิวหนัง ประสบการณ์กว่า 22 ปี
ได้ทุกวันตั้งแต่เวลา
จันทร์ ถึง ศุกร์ 12.00 น. - 20.00 น.
เสาร์ ถึง อาทิตย์ 12.00 น. - 17.00 น.
#โทร : 088-521-8585
#Line : 1999MSC
#คลินิกผิวหนังมหานคร

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้