ติ่งเนื้อ คือ เนื้องอกชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่มะเร็ง พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ อายุตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไป
ซึ่งเกิดขึ้นมาและเป็นติ่งอยู่บนผิวหนัง มีสีและขนาดแตกต่างกันไป โดยมีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงประมาณ 2 นิ้ว ติ่งเนื้อไม่ใช่เนื้อร้าย และไม่กลายเป็นมะเร็งผิวหนัง
สาเหตุของการเกิดติ่งเนื้อไม่แน่ชัด แต่มักเกิดขึ้นบริเวณที่มีการเสียดสีบ่อยๆ เช่น คอ รักแร้ หรือข้อพับต่างๆ จากการเสียดสีของเสื้อผ้า เช่น คอเสื้อ แขนเสื้อ คนอ้วน ผู้สูงอายุ เพศหญิงเพศชายมีโอกาสเกิดได้มากกว่า
อาการของติ่งเนื้อ จะเป็นก้อนเนื้อนุ่มมีขนาดเล็กนูนขึ้น และยื่นออกมาเป็นติ่ง และจะค่อย ๆ กลายเป็นสีเดียวกับผิวหนัง
โดยปกติ ติ่งเนื้อผิวหนัง จะไม่ก่ออาการ แต่อาจมีอาการคันระคายเคือง หากติ่งเนื้อเสียดสีกับเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดติ่งเนื้อได้
ภาวะอ้วน ผู้ที่ประสบภาวะอ้วน จะป่วยเป็นโรคผิวหนัง โดยโรคนี้จะเกิดติ่งเนื้อจำนวนมากตามผิวหนังบริเวณคอและรักแร้
การตั้งครรภ์ ติ่งเนื้ออาจเป็นผลข้างเคียงจากการตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้ที่ตั้งครรภ์จะมีระดับฮอร์โมนและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น
พันธุกรรม ผู้ที่บุคคลในครอบครัวเคยมีติ่งเนื้อขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาจเสี่ยงเกิดติ่งเนื้อได้
*การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการแต่ละบุคคล
วิธีการรักษาติ่งเนื้อ
ผู้ที่ต้องการกำจัดติ่งเนื้อควรปรึกษาแพทย์ให้รอบคอบ ส่วนใหญ่แล้ว มักกำจัดติ่งเนื้อออกเพื่อความสวยงาม โดยมีวิธีรักษาหลายวิธี
ใช้วิธีจี้ไฟฟ้า หรือเลเซอร์ หรืออาจจะแค่ตัดออกและบำบัดด้วยความเย็น
ผ่าตัดติ่งเนื้อ วิธีนี้จะช่วยกำจัดติ่งเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บำบัดด้วยความเย็นจัด วิธีนี้จะรักษาติ่งเนื้อด้วยอุณหภูมิเย็นจัด อีกทั้งยังใช้รักษาผิวหนังบริเวณที่เกิดอาการเจ็บปวดจากเส้นประสาท มะเร็งบางชนิด หรือเซลล์ผิวหนังที่เกิดความผิดปกติ
จี้ติ่งเนื้อ วิธีนี้จะใช้ไฟจี้ติ่งเนื้อที่มีสีผิดปกติหรือทำให้เกิดการระคายเคือง ให้หลุดออกไป
การใช้เลเซอร์ ช่วยกำจัดติ่งเนื้อได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพสูง เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บหรือปวด เนื่องจากเลเซอร์มีความละเอียดและแม่นยำสูงมาก จึงสามารถเลือกตัดเฉพาะเนื้อเยื่อที่ต้องการโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื้อรอบๆ รวมถึงมีผลในการหยุดเลือดบริเวณที่ผ่าตัด จึงทำให้แผลมีขนาดเล็ก ดูแลรักษาง่าย มีโอกาสเกิดแผลเป็นน้อย
วิธีการเหล่านี้ควรดำเนินการโดยแพทย์ผิวหนัง หรือผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังที่ได้รับการรับรอง ไม่แนะนำให้นำติ่งเนื้อออกด้วยตนเอง เนื่องจากเสี่ยงต่อการมีเลือดออกและติดเชื้อได้
*การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการแต่ละบุคคล
วิธีป้องการการเกิดติ่งเนื้อ
การควบคุมน้ำหนักไม่ให้มีภาวะอ้วน เลือกใช้เครื่องประดับ เพื่อลดการเสียดสีต่อเนื่องกับผิวหนัง ใส่เสื้อผ้าโปร่งสบาย
รวมสังเกตดูว่าก้อนนูนที่ขึ้นตามผิวหนังนั้นเป็นติ่งเนื้อ หูด หรือเนื้อร้ายอื่น ๆ ที่ต้องเข้ารับการรักษา หากพบลักษณะก้อนเนื้อที่นูนขึ้นมามีลักษณะต่อไปนี้ ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที