เชื้อราที่เล็บ

◉โรคกลากที่เล็บ หรือ เชื้อราที่เล็บ

เป็นได้ทั้งเล็บมือและเล็บเท้า ถ้าเป็นที่เล็บเท้ามักจะเกิดจากโรคฮ่องกงฟุตที่เป็นแบบเรื้อรัง ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการคัน โดยมากมักจะเป็นที่นิ้วก้อยมากกว่านิ้วอื่น ๆ และจะเกิดที่ปลายเล็บหรือด้านข้างของเล็บก่อน หรือถ้าเป็นที่เล็บมือ ผู้ป่วยมักจะมีอาการของโรคกลากที่บริเวณอื่นมาก่อน หรือติดเชื้อมาจากร้านเสริมสวยจากการแต่งเล็บด้วยเครื่องมือที่ไม่สะอาด ซึ่งเล็บจะมีลักษณะด้าน ไม่เรียบตรงและหนาขึ้น เล็บจะเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นเป็นหย่อม ๆ สีเหลือง น้ำตาล หรือสีดำ มีลักษณะขรุขระและยุ่ย และตัวเล็บอาจแยกออกจากหนังใต้เล็บ

 


*การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการแต่ละบุคคล 

 

◉สาเหตุของเชื้อราที่เล็บ

เชื้อราที่เล็บมีโอกาสเกิดกับทุกเพศ ทุกวัย โดยมีปัจจัยหรือพฤติกรรมบางอย่างที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเชื้อราที่เล็บได้ ดังนี้

1.สวมรองเท้าที่คับหรืออับชื้น

2.ไม่รักษาความสะอาดของเท้า หรือเดินเท้าเปล่าในพื้นที่สาธารณะซึ่งชื้นหรือมีน้ำท่วมขัง เช่น ห้องอาบน้ำสาธารณะ สระว่ายน้ำ เป็นต้น

3.มีแผลบริเวณเล็บนิ้วมือ เล็บนิ้วเท้า

4.เป็นโรคน้ำกัดเท้า ซึ่งเกิดจากเชื้อราบนผิวหนังบริเวณนิ้วเท้า โดยเชื้อราอาจลุกลามจากบริเวณนิ้วเท้ามาที่เล็บเท้าได้ หากผู้ป่วยไม่ได้รักษาโรคน้ำกัดเท้าอย่างทันท่วงที

5.เป็นโรคเฉพาะบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคสะเก็ดเงิน หรือโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน

 

*การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการแต่ละบุคคล 

◉ลักษณะและอาการของโรคเชื้อราที่เล็บ

โรคเชื้อราที่เล็บโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่มีอาการอะไร ผู้ป่วยบางรายอาจมีรอบเล็บบวมแดง โดยเฉพาะนิ้วมือที่ต้องโดนน้ำบ่อย ๆ ซึ่งเกิดจากเชื้อยีสต์ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นปัญหาในการรักษาโรคมักจะเป็นโรคเชื้อราที่เล็บอันเนื่องมา จากเชื้อกลากแท้ หรือ เชื้อกลากเทียมซึ่งผู้ป่วยจะไม่มีอาการอะไร บางรายปล่อยไว้นานหลายปี

 



◉วิธีการรักษาโรคเชื้อราที่เล็บ

การรักษาโรคเชื้อราที่เล็บมีหลายวิธี เช่น

1.การใช้ยารับประทาน มียารักษาเชื้อราโดยการรับประทานหลายชนิด โดยทั่วไปแล้วมีประสิทธิภาพการรักษาสูง สามารถ รักษาความผิดปกติของเล็บที่เป็นโรคได้ทุก ๆ เล็บ รวมถึงเท้า และฝ่าเท้าที่เป็นโรคได้ แต่การใช้ยารับประทานจะได้ผลดีกับโรคโดยเฉพาะที่เกิดจากเชื้อกลากแท้หรือเชื้อยีสต์บางชนิด

2.การใช้ยาทาเฉพาะที่ เป็นการรักษาที่มีความปลอดภัย ยาทามีหลายรูปแบบ เช่น ชนิดที่เป็นสารละลาย หรือชนิดที่เป็นยาทาเคลือบเล็บ ซึ่งยาทาบางชนิดสามารถทาที่เล็บสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทำให้มีความสะดวกในการใช้ยา

3.การใช้วิธีการอื่นๆ ในการรักษา การใช้แสงเลเซอร์รักษาเชื้อราที่เล็บ หรือเครื่องมือทางกายภาพบางชนิดในการรักษา หรือร่วมการรักษาโรคเชื้อราที่เล็บ หรือการใช้ครีมหรือสารเคมีที่ช่วยเสริมการรักษาโรค

 

◉การติดเชื้อราที่เล็บ มี 2 รูปแบบ

1.อาจมีอาการกดเจ็บรอบเล็บ รอบเล็บมวมแดง ผิวเล็บขรุขระ
สาเหตุ : มักเกิดจากนิ้วมือที่เปียกน้ำบ่อยหรือแช่น้ำ เช่น ซักผ้า ล้างจาน เป็นต้น โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุกิดจาก เชื้อแคนดิดา
การรักษา : ทำได้ด้วยการทายาต้านเชื้อรานานเป็นสัปดาห์ หรือใช้ยาต้านเชื้อราชนิดรับประทาน

2.เล็บร่น เนื่องจากแผ่นเล็บไม่ติดกับพื้นเล็บทำให้เกิดโพรงใต้แผ่นเล็บ บางรายพบว่ามีภาวะใต้เล็บหนาหรืออาจทำให้ผิวเล็บเสียและขรุขระได้
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อราในกลุ่มราสายทั้งที่เป็นเชื้อกลาก และไม่ใช่กลาก ที่เข้าไปใต้เล็บ อาจติดจากดิน สัตว์
การรักษา : 1.ใช้ยาต้านเชื้อราชนิดรับประทานหรือยาต้านเชื้อราในรูปแบบของยาทาเล็บ
2.หมั่นทำความสะอาดเล็บมือหลังสัมผัสดินและสัตว์ ที่มีอาการขนร่วงหรือมีรอยโรคที่ผิวหนัง
3.ดูแลไม่ให้เล็บมือและเท้าอับชื้น

◉การป้องกัน

1.รักษาความสะอาดมือและเท้า เช็ดให้แห้งทุกครั้งที่ล้างมือหรือเท้า

2.ตัดเล็บให้สั้นและรักษาความสะอาด อย่าตัดเล็มหนังบริเวณรอบๆ เล็บ

3.หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าที่คับเกินไป สวมถุงเท้าผ้าฝ้ายที่ซับความชื้นได้ และเปลี่ยนเมื่อเปียกชื้น

4.หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าบริเวณรอบสระน้ำหรือที่สาธารณะอื่นๆ

5.หลีกเลี่ยงการทำเล็บปลอม ซึ่งจะดักจับความชื้นได้ดี

6.หากเป็นโรคเบาหวาน ควรพบแพทย์เป็นประจำเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

สอบถามและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านผิวหนัง ประสบการณ์กว่า 22 ปี
ได้ทุกวันตั้งแต่เวลา
จันทร์ ถึง ศุกร์ 12.00 น. - 20.00 น.
เสาร์ ถึง อาทิตย์ 12.00 น. - 17.00 น.
#โทร : 088-521-8585
#Line : @1999MSC
#คลินิกผิวหนังมหานคร

ขอบคุณรูปภาพ Gotoknow

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้