คันหนังศีรษะ เชื้อราในร่มผ้า คันในร่มผ้า
รังแค คันหนังศีรษะ เกิดจากการอักเสบของผิวหนังบริเวณศีรษะจึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการหลุดร่วงของเส้นผมมากกว่าปกติ รังแคจะเป็นขุยขาวๆอยู่บนหนังศีรษะอันที่จริงๆแล้วรังแคก็คือสวนหนึ่งของหนังศีรษะที่หลุดลอกออกมาและมักหลุดร่วงมาพร้อมกับเส้นผมอยู่ตามเสื้อผ้าหรือเป็นแผ่นเล็กๆติดอยู่ที่เส้นผมบนศีรษะและถ้าปล่อยไว้ไม่ทำการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีจะยิ่งเป็นสาเหตุทำให้เส้นผมหลุดร่วงมากยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ
*การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการแต่ละบุคคล
นอกจากนี้รังแคยังเป็นตัวการสำคัญที่อาจจะทำให้เกิดอาการผมร่วงจากกรรมพันธุ์หรือผมร่วงจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเป็นเร็วขึ้นกว่าเดิมได้อีกด้วยดังนั้นถ้าใครที่เริ่มเป็นรังแคในระยะเริ่มแรกควรหาวิธีรักษาเพื่อช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผมและป้องกันการอักเสบของหนังศีรษะ
◉ สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันหัว ได้แก่
1.ผื่นแพ้สัมผัสที่หนังศีรษะ ผื่นแพ้สัมผัสที่หนังศีรษะเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะหนังศีรษะคันเป็นขุย ภาวะนี้พบได้ไม่บ่อยเนื่องจากผิวหนังบริเวณหนังศีรษะจะเกิดผื่นแพ้สัมผัสได้ยาก การวินิจฉัยผื่นแพ้สัมผัสที่หนังศีรษะนั้นอาศัยประวัติสัมผัสสารที่อาจก่อให้เกิดการแพ้ ตรวจร่างกายพบผื่นแดงลอกเป็นขุย เป็นผื่นเพราะหนังศีรษะสัมผัสกับสารหรือผลิตภัณฑ์บางชนิด เช่น แชมพู แพ้ยารักษาโรคบางชนิด หนังศีรษะได้รับสารเคมีเป็นประจำ เช่น ผลิตภัณฑ์ยาย้อมสีผม หรือผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมต่าง ๆ
*การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการแต่ละบุคคล
2.เหา ที่อาศัยตามร่างกายคนหรือสัตว์ และดำรงชีวิตอยู่ด้วยการดูดเลือดเป็นอาหาร และเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการคันศีรษะได้ และก็จะทำให้เกิดหนังศีรษะลอก
3.เชื้อราบนหนังศีรษะ (Tinea Capitis) เป็นเชื้อราที่ได้กระจายตัวลึกลงไปยังรูขุมขน จนทำให้คันที่หนังศีรษะและอาจทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมได้
คนเราจะมีกันอยู่ทุกคนแต่จะมีปริมาณมากน้อยแตกต่างกันออกไปสำหรับผู้ที่เป็นรังแคอาจจะเกิดจาปัจจัยต่างๆทำให้เชื้อราบนหนังศีรษะเจริญเติบได้ดีกว่าปกติ
*การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการแต่ละบุคคล
4.โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดอาการคันและมีผิวหนังตกสะเก็ดจะมีความรุนแรงกว่า โดยบางรายมีเพียงเฉพาะผื่นในบริเวณหนังศีรษะเท่านั้น และบ่อยครั้งที่ผื่นบนหนังศีรษะเป็นอาการแสดงแรกของโรคสะเก็ดเงิน สะเก็ดเงินที่พบบนหนังศีรษะมีความรุนแรงแตกต่างกันไปตั้งแต่ผื่นลอกเป็นขุยบาง ๆ ไปจนถึงผื่นหนานูนแดง มีขุยหนา
5.รังแคและโรคผิวหนังอักเสบของต่อมไขมัน เป็นสาเหตุของภาวะหนังศีรษะเป็นขุยที่พบได้บ่อยที่สุดโดยเชื่อว่าภาวะทั้งสองนี้เป็นกลุ่มโรคเดียวกัน พบได้ทุกอายุ นอกจากพบที่หนังศีรษะแล้ว บางรายอาจเป็นที่ใบหน้า หน้าอกและหลังได้ อาการจะพบขุยสีขาวเหลือง อาจพบรอยแดงของหนังศีรษะได้
6.โรคกลากที่หนังศีรษะ โรคกลากเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา โดยกลากที่เกิดขึ้นบนหนังศีรษะนั้นมักเกิดในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก แต่อาจพบในวัยผู้ใหญ่ได้อาการแสดงของโรคกลากที่หนังศีรษะค่อนข้างหลากหลาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเชื้อที่เป็นสาเหตุและปฏิกิริยาของผู้ป่วย อาการมักมีขุยบนหนังศีรษะ
◉ วิธีรักษาและป้องกัน
- รังแค เป็นสาเหตุซึ่งพบได้มากที่สุด โดยทำให้เกิดอาการคันศีรษะ โดยควรเลือกใช้แชมพูขจัดรังแคสูตรอ่อนโยน ที่ช่วยควบคุมเชื้อราหรือแบคทีเรีย
- เหาบนศีรษะ รักษาได้ด้วยการใช้แชมพูหรือยากำจัดเหา
- เชื้อราบนหนังศีรษะ จะใช้ยาต่อต้านเชื้อราชนิดรับประทาน หรือแชมพูต่อต้านเชื้อรา โดยก่อนใช้ยาควรศึกษาตัวยา เพราะส่วนประกอบของตัวยาอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้
- โรคสะเก็ดเงิน ใช้แชมพูรักษาสะเก็ดเงินเพื่อควบคุมอาการโรคสะเก็ดเงิน เพื่อการรักษาที่ดีอย่างต่อเนื่อง
- หนังศีรษะบอบบางแพ้ง่าย การรักษา เลือกผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อหนังศีรษะ คนที่มีหนังศีรษะบอบบางเลยต้องใส่ใจกับการเลือกแชมพูเป็นพิเศษ เพราะเป็นสิ่งที่สัมผัสกับหนังศีรษะโดยตรง ซึ่งอาจมีสารชะล้างหรือส่วนผสมบางชนิดที่ทำให้หนังศีรษะสูญเสียความชุ่มชื้นและไขมันตามธรรมชาติมากเกินไป จนทำให้หนังศีรษะระคายเคือง แห้ง คัน จนลอกออกมาเป็นรังแค และเกิดอาการอักเสบตามมา ดังนั้นหากรู้ตัวว่า แพ้ง่าย จึงควรเลือกใช้แชมพูที่เป็นสูตรอ่อนโยน
*การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการแต่ละบุคคล
◉ เมื่อเกิดอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์ทันที
1.เมื่อพบว่ามีอาการคันศีรษะอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเกิดอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ผมร่วง เจ็บ แสบ หรือคันศีรษะมากขึ้น
2.เมื่อสัมผัสบริเวณที่มีอาการคันแล้วรู้สึกเจ็บหรือแสบมากจนทนไม่ไหว
3.ใช้แชมพูหรือยารักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น
4.คันศีรษะเนื่องมาจากโรคทางผิวหนัง เช่น โรคสะเก็ดเงิน หรือการติดเชื้อแบคทีเรียบนหนังศีรษะ
เชื้อราในร่มผ้า คันในร่มผ้า
◉อาจเกิดได้จากหลายๆสาเหตุ เช่น การแพ้สารเคมี ได้แก่ ผงซักฟอก ครีมทาผิว การแพ้ยา หรือติดเชื้อแคนดิดา มักพบบริเวณที่อับชื้น เช่น ข้อพับ ขาหนีบ รักแร้ ลักษณะเป็นผื่นสีแดง มีอาการคัน สามารถลุกลามได้ จะมีอาการคันและแสบมาก
ไม่ควรละเลย เพราะเชื้ออาจลุกลามไปยังผิวหนังบริเวณใกล้เคียงหากไม่รักษาให้หายขาด โดยอาจรุนแรงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตได้ ซึ่งเชื้อราแต่ละชนิดจะทำให้เกิดโรคผิวหนังที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างโรคติดเชื้อราบริเวณผิวหนังที่พบได้บ่อย เช่น กลาก เกลื้อน ที่เกิดขึ้นบริเวณทั่วไป สังคังหรือเชื้อราบริเวณขาหนีบ และเชื้อราที่เท้า
◉เชื้อราบนผิวหนัง รักษาอย่างไร
อาการผิวหนังติดเชื้อราควรได้รับการตรวจโดยแพทย์หรือเภสัชกร พร้อมทั้งควรรักษาโดยเร็ว เพราะเชื้ออาจลุกลามและเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น ผู้ที่อยู่ใกล้ชิด หรือคนในครอบครัวได้ การรักษามักเป็นการดูแลความสะอาดร่างกายอย่างเหมาะสมร่วมกับการใช้ยาที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา
การรักษาเชื้อราในร่มผ้าให้หายสามารถทำได้ แต่จะต้องมีการหาสาเหตุของการเกิดเชื้อราให้รู้ชัดเจน ถี่ถ้วน และหากสาเหตุนั้นเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของคุณเองก็ควรเลิกทำหรือเลี่ยงพฤติกรรมนั้นๆ เพื่อไม่ให้กลับมาเป็นอีก
*การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการแต่ละบุคคล
◉เชื้อราบนผิวหนัง ป้องกันได้ไม่ยาก
1.ดูแลรักษาความสะอาดร่างกายอย่างเหมาะสม
2.สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้น ไม่สวมเสื้อผ้าหรือถุงเท้าซ้ำ
3.หมั่นทำความสะอาดรองเท้าเป็นประจำด้วยการซักหรือพึ่งแดด โดยเฉพาะรองเท้ากีฬา
*ลักษณะอาการแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ บางคนเป็นไม่เยอะก็รักษาหายใช้เวลาไม่นาน บางคนอาการรุนแรงอาจจะใช้เวลานานในการรักษา
4.หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าบนพื้นที่เปียกแฉะหรือไม่แน่ใจเรื่องความสะอาด
5.หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อรา
6.หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับคนอื่น
7.ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์
8.อาบน้ำทันทีหลังออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่มีเหงื่อออกมาก
สอบถามและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านผิวหนัง ประสบการณ์กว่า 22 ปี
ได้ทุกวันตั้งแต่เวลา
จันทร์ ถึง ศุกร์ 12.00 น. - 20.00 น.
เสาร์ ถึง อาทิตย์ 12.00 น. - 17.00 น.
#โทร : 088-521-8585
#Line : 1999MSC
#คลินิกผิวหนังมหานคร